5 เทรนด์อาหาร ปี 2016
ในปีนี้ อาหารจะไม่ใช่แค่อร่อย แต่ต้องมีองค์ประกอบอื่นๆ มากขึ้น
อาจารย์ชลธี สีหะอำไพ เชฟประจำโรงแรม Marriott Marquis และ The Ritz Carlton ในกรุงนิวยอร์ก ผู้คร่ำหวอดอยู่ในวงการอาหารระดับโลก และแวดวงอุตสาหกรรมอาหารมายาวนานกว่า 30 ปี เผยแนวโน้มอาหาร 2016 ว่า
1. เทรนด์ Green Food ยังคงมาแรง เพราะประชากรเริ่มตระหนักถึงความสำคัญของอาหารที่ต้องไม่ทำลายธรรมชาติ บวกกับกลุ่มอาหารที่มีอาการแพ้เพิ่มขึ้น ยิ่งทำให้ผู้บริโภคเลือกอาหารเพิ่มขึ้นตามไปด้วย โดยอาหารเหล่านี้ต้องมีที่มาที่ไม่ทำลายสภาพแวดล้อม ไม่มีส่วนผสมของสารสังเคราะห์ แต่ละเมนูไม่มีวัตถุดิบเหลือทิ้ง กลุ่มอาหารที่นิยมจะเป็นเห็ด พืชมีหัว ดอกไม้ต่างๆ รวมทั้งการหันมาทานน้ำมันหมู และให้ความรู้แก่ผู้บริโภคด้วยว่า อาหารเหล่านี้มีที่มาอย่างไร มีส่วนผสมของอะไรบ้าง เพื่อป้องกันอาการแพ้
1. เทรนด์ Green Food ยังคงมาแรง เพราะประชากรเริ่มตระหนักถึงความสำคัญของอาหารที่ต้องไม่ทำลายธรรมชาติ บวกกับกลุ่มอาหารที่มีอาการแพ้เพิ่มขึ้น ยิ่งทำให้ผู้บริโภคเลือกอาหารเพิ่มขึ้นตามไปด้วย โดยอาหารเหล่านี้ต้องมีที่มาที่ไม่ทำลายสภาพแวดล้อม ไม่มีส่วนผสมของสารสังเคราะห์ แต่ละเมนูไม่มีวัตถุดิบเหลือทิ้ง กลุ่มอาหารที่นิยมจะเป็นเห็ด พืชมีหัว ดอกไม้ต่างๆ รวมทั้งการหันมาทานน้ำมันหมู และให้ความรู้แก่ผู้บริโภคด้วยว่า อาหารเหล่านี้มีที่มาอย่างไร มีส่วนผสมของอะไรบ้าง เพื่อป้องกันอาการแพ้
2. เมนูเฉพาะตัวต้องมี โดยเฉพาะร้านอาหารที่ต้องการสินค้า หรือเมนูเฉพาะของตัวเอง ทั้งเมนูพิเศษประจำร้าน เครื่องดื่ม เช่น ในฝั่งตะวันตกจะนิยมผลิตเบียร์หรือไวน์รสชาติเฉพาะของทางร้านเอง เพื่อเป็นจุดขาย ซึ่งในไทยเอง วัตถุดิบอย่างข้าว ดอกไม้ต่างๆ สามารถนำมาครีเอตเป็นเมนูใหม่ๆ ทั้งคาวและหวานได้ จึงน่าจะเป็นโอกาสในการคิดค้น ในจังหวะที่ผู้บริโภคอยู่ในช่วงเปิดใจอย่างเต็มที่
3. ผลิตน้อยเจาะตลาดเล็ก การสร้างเครือข่ายในชุมชน เพื่อระดมวัตถุดิบไปจำหน่าย เป็นกระแสที่เกษตรกรต้องหันมาจัมือกัน ซึ่งในแต่ละพื้นที่มีสินค้าที่เหมือน หรือแตกต่างกัน แต่ร่วมกันสร้างแบรนด์ เช่น ผลผลิตออร์แกนิก แบบครอบคลุมทั้งพืชผัก ผลไม้ ข้าว เพื่อรองรับผู้ซื้อที่เป็นรายเล็ก เช่น ครอบครัวหนึ่งๆ ได้ โดยช่องทางที่ง่ายต่อการสื่อสารก็คือ อินเทอร์เน็ต
4. จานด่วนก็ต้องดีไซน์ ผู้บริโภคมีความต้องการในเรื่องรูปลักษณ์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสีสัน การจัดวางที่สวยงาม รูปฟอร์มของวัตถุดิบ เพื่อให้เห็นว่า อาหารต้องมีการตลาดที่ชัดเจน ไม่ใช่แค่ทานอิ่ม รสชาติดี ต้องสวยงามด้วย ผู้บริโภคที่แม้จะซื้อสินค้าพร้อมทานก็ต้องการสิ่งที่พิเศษ ดูดีมากขึ้น
5. อาหารกับการขายผ่านเทรนด์ออนไลน์ มีการเปิดเผยตัวเลขช่องทางจำหน่ายอาหารที่จะได้รับความนิยม และมีการเติบโต โดยในปี 2016 ช่องทางการจำหน่ายอาหารหลัก ยังคงเป็นห้างสรรพสินค้าและไฮเปอร์มาร์เก็ต โดยในปี 2016 จะอยู่ที่ 75.7% โตเพิ่มขึ้น 8% รองลงมาคือ ซูเปอร์มาร์เก็ตที่ได้รับความนิยม 38% เติบโต 12% แต่ช่องทางที่มาแรงและมีตัวเลขเติบโตมากที่สุดคือ ช่องทางออนไลน์ ที่มีการเติบโตขึ้น ถึง 89.7%
ช่องทางออนไลน์ไม่ว่าจะเป็นการจำหน่ายอาหารรับออร์เดอร์ไปจนถึงช่องทางการค้นหาโปรโมตร้าน จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ตัวอย่างร้านอาหารสำหรับคนที่เป็นมังสวิรัติจะสามารถโปรโมตร้านผ่านทางเว็บไซต์สมาคม เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น