เขียนโดย Greenclinic
สารสกัดจากเมล็ดงาดำ (Sesamin)
งาดำ (sesame)มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Sesamun Indicum Linn. จัดอยู่ใน วงศ์ Pedaliaceae
ชื่อสามัญที่รู้จักกันคือ sesame เป็นพืชล้มลุก ลำต้นสูงประมาณ 0.5 – 2.5 เมตร ดอกสีขาว ผลเป็นฝัก ภายในมีเมล็ดเล็กๆ (งา มีทั้งพันธุ์สีขาว สีดำ และสีแดง แต่สีแดงไม่ค่อยเป็นที่นิยม) งาเป็นธัญพืชที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่มีคุณ ประโยชน์สูงมาก โดยเฉพาะงาดำ มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศเอธิโอเปีย ต่อมาถูก นำไปปลูกที่อินเดีย และแพร่ต่อไปที่จีน แอฟริกาเหนือ เอเชียใต้ และ ทวีปอเมริกา
คุณค่าทางโภชนาการ
ประโยชน์ของงานั้นมีสูงมาก เนื่อง จากในเมล็ดงามีโปรตีนสูงถึง 20% ประกอบด้วยกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายถึง 2 ชนิดคือ เมธิโอนีน ( Methionine) และ ทริปโตเฟน (Tryptophan) อีกทั้งมี ไขมันไม่อิ่มตัวถึง 80% จึงสามารถสกัดเป็นน้ำมันคุณภาพดีที่มีทั้งกรดไขมันโอเมก้า 3 ,โอเมก้า 6 , กรดโอเลอิก และ กรดไลโนเลอิก ซึ่งมีคุณสมบัติในการช่วยลดคอเลสเตอรอล, ป้องกันหลอดเลือดแข็งตัว และหลอดเลือดตีบ ช่วยให้ระบบหัวใจแข็งแรง , บำรุงเซลล์, บำรุงผิวพรรณให้ชุ่มชื้น และบำรุงรากผมช่วยทำให้ดกดำ นอกจากนี้ เมล็ดงายังอุดมด้วยแร่ธาตุและวิตามินมากมาย เช่น มีแคลเซียมสูง กว่านมวัวถึง 6 เท่า มีธาตุเหล็ก, แมกนีเซียม, สังกะสี, ฟอสฟอรัส, โปแตสเซียม, ทองแดง และวิตามินบี ชนิดต่างๆ ที่ช่วยบำรุงระบบประสาท การบริโภคงาดำเป็น ประจำจึงทำให้สุขภาพดี เพราะช่วยเสริมการทำงานของระบบต่างๆ ที่สำคัญในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น ระบบหัวใจ, หลอดเลือด, สมอง, ระบบประสาท, กระดูกและฟัน, ผิว หนังและเส้นผม นอกจากนั้นยังช่วยให้นอนหลับ กระปรี้กระเปร่า ป้องกันโรค เหน็บชา ป้องกันอาการท้องผูก รักษาโรคริดสีดวงทวาร และอีกมากมาย ฯลฯ ด้วย คุณค่าที่ประจักษ์มาช้านานนี้ งาจึงเป็นอาหารและยาที่ใช้กันแพร่หลายในแทบทุก ภูมิภาคของโลก
สารสำคัญที่พบได้มากในงาดำ คือ ลิกแนน (Lignans) โดยพบว่า sesame lignan มีความสำคัญคือ ทำหน้าที่ในการป้องกันตัวจากแมลง และทำหน้าที่เป็น anti-oxidant และฆ่าแมลง (Insecticides)ด้วย เซซามิน (Sesamin) เป็นสารลิกแนนที่มีมากที่สุดในเมล็ดงา สารเซซามิน คือ สารสกัดจากเมล็ดงาดำ จากงานวิจัยพบว่า สามารถยับยั้งการสลายของกระดูกอ่อน (โรคข้อเสื่อม) และโรคกระดูกพรุน ซึ่งเป็น งานวิจัยที่ทำขึ้นในห้องแลป เซซามินมีหน้าที่หลายอย่างที่เป็นประโยชน์ต่อตับ เช่น ทำหน้าที่ต้านอนุมูลอิสระ ทำหน้าที่ช่วยให้เซลล์ของตับ regenerate มาก หรือ promote liver regeneration ทำหน้าที่ช่วยกระตุ้นการทำงานของเอ็นไซม์สำหรับใช้ในการทำลายสารพิษ กระตุ้นให้เอ็นไซม์ใน microsomal ของเซลล์ตับมีความสามารถทำลายแอลกอฮอล์ ชนิด ethanol ทำหน้าที่กระตุ้นเอ็นไซม์ของตับที่ใช้ในการทำลายสารพิษ เช่น พวก glutathione reductase เซซามิน เป็นสารลิกแนน ( lignans ) ชนิดหนึ่งในงาดำซึ่งมีปริมาณมากที่สุด สารดังกล่าวคือ สารชีวโมเลกุลที่ทำหน้าที่ป้องกันตัวเองจากศัตรูพืช รายงานวิจัยมาก มายต่างค้นพบว่า สารเซซามิน มีคุณสมบัติทางชีวภาพสูงมาก โดยสามารถสรุปได้ดังนี้ ช่วยกระตุ้นการเผาผลาญไขมัน ( Fatty Acid Oxidation ) ช่วยลดคอเลสเตอรอล (Reduction of Cholesterol ) ทั้งในด้านการยับยั้งการสังเคราะห์ และการดูดซึมคอเลสเตอรอล ช่วยลดไขมันในเลือด ( Hypolipidemic Effect ) ช่วยเสริมประสิทธิภาพของวิตามินอีเพิ่มขึ้นถึง 10 เท่า (Enhancement of Vitamin E ) เหมาะสำหรับพัฒนาเป็นเครื่องสำอาง ปกป้องระบบประสาท ( Neuroprotective Effect ) ด้วยการยับยั้งปฏิกริยาการเติมออกซิเจนของอะมีลอยด์โปรตีน จึงเป็นกลไกที่ช่วยป้องกันอัลไซเมอร์ได้ ป้องกันภาวะพร่องออกซิเจน (Effect on Hypoxic and Oxidative Stress ) มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูง ( Antioxidant Effect ) มีฤทธิ์ต่อต้านการอักเสบ ( Anti – Inflammatory Effect ) จากการศึกษาวิจัย ทำให้ค้นพบสรรพคุณของสารเซซามิน ว่าสามารถช่วยยับยั้ง การเสื่อมสลายของกระดูกอ่อน ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคข้อเสื่อม โดยเริ่มต้นจากคุณสมบัติในด้านการต่อต้านการอักเสบ และการวิจัยในห้องทดลองทำให้พบกลไก การทำงานของสารเซซามิน ที่มีฤทธิ์ต่อต้านการอักเสบได้ทุกชนิด ตั้งแต่การอักเสบ ของกระดูก การอักเสบของตับ ปอด และอื่นๆ จึงได้มีการวิจัยต่อยอดความรู้จาก เรื่องกระดูกไปสู่การศึกษาเรื่อง มะเร็ง ตับแข็ง ตับอักเสบ ปอดอักเสบ และ การติด เชื้อไวรัสH1N1 จึงทำให้พบประสิทธิภาพของเซซามิน ซึ่งเป็นสารสกัดจากงาดำที่ เปี่ยมด้วยพลังแห่งการเยียวยาความเจ็บป่วยของมนุษย์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น รักษาโรคข้ออักเสบ จากผลการศึกษาวิจัยพบว่า สารเซซามิน สามารถลดการสลายของเนื้อเยื่อกระดูกอ่อนได้ โดยพบว่า กลไกนั้นเกินจากการไปยับยั้งการส่งสัญญาณของสาร pro-inflamamatory cytokine ชนิด (inter leukin-1 beta) IL-1 beta ซึ่งเป็นตัวหลักที่ก่อให้เกิดการอักเสบภายในเนื้อเยื่อกระดูกอ่อน จึงเป็นแนวทางที่ดีในการนำไปพัฒนาเพื่อใช้รักษาโรคข้ออักเสบ ป้องกัน และรักษาโรคกระดูกพรุน โรคกระดูกพรุนเป็นโรคที่พบมากในหญิงวัยหมดประจำเดือน สาเหตุเกิดจากการทำงานของเซลล์กระดูกที่ผิดปกติไป โดยเซลล์ที่ทำหน้าที่สร้างกระดูกออสทีโอบลาส(Osteoblast) ทำหน้าที่ลดลง ในขณะที่เซลล์ที่ทำหน้าที่สลายกระดูกออสทีโอคลาส(Osteoclast) ทำหน้าที่มากขึ้น จากการศึกษาพบว่า สารเซซามิน สามารถเพิ่มความสามารถของเซลล์ Osteoblast ในการสร้างเนื้อเยื่อกระดูกได้ ดังนั้น สารเซซามิน น่าจะสามารถนำมาใช้ในการป้องกัน และรักษาโรคกระดูกพรุ่นได้ บำรุงผิวพรรณ จากการศึกษาวิจัยโดยการใช้เซลล์จากผิวหนังของมนุษย์ ยังพบอีกว่า สารเซซามินจากเมล็ดงาดำ สามารถไปกระตุ้นให้เซลล์ผิวหนังสามารถสังเคราะห์คอลลาเจน และกรดไฮยาลูโรนิก ซึ่งเป็นสารที่ทำให้ผิวหนังยืดหยุ่นได้ดี ช่วยให้ผิวหนังชุ่มชื้นหรือเต่งตึงมากขึ้น ช่วยฟื้นฟู และกระตุ้นการทำงานของตับ สารเซซามินในเมล็ดงาดำ มีสรรพคุณช่วยให้เซลล์ตับฟื้นตัวได้ดีขึ้น(Promote Liver Regebration) นอกจากหน้าที่ ในการปกป้องตับมิให้เสื่อมสภาพจากการสะสมของสารพิษมายาวนานแล้ว สารเซซามิน ยังช่วยเสริมประสิทธิภาพในการกำจัดสารของตับด้วยการกระตุ้นเอนไซม์ใน Microsomai ของตับ ให้มีความสามารถในการกำจัดแอลกอฮอล์ประเภท ethanol รวมทั้งกระตุ้นเอนไซม์กูลต้าไทโอน รีดัคเตส ยับยั้งเซลล์มะเร็ง มีการศึกษาวิจัยพบว่า เซซามิน เป็นสารที่มีคุณบัติช่วยยับยั้งเซลล์มะเร็ง โดยทำให้เซลล์มะเร็งมีอายุสั้นลง จากการทดลองในห้องปฏิบัติการผลปรากฏว่า สารเซซามิน สามารถลดการแสดงออกของโปรตีน Cyclin D1 ได้โดยการไปกระตุ้นการสลาย Proteasome เมื่อ Cyclin D1 หมดฤทธิ์ เซลล์มะเร็งก็จะเข้าสู่ขั้นตอนการสลายตัวเองตามปกติ ซึ่งเป็นกลไกที่สำคัญในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง ลดอาการปอดอักเสบ จากการทดลองในห้องปฏิบัติการพบว่า สารเซซามิน ช่วยลดอาการปอดอักเสบได้ เนื่องจาก เซซามิน มีฤทธิ์ยับยั้งการเกิด Cytokine storm อันเป็นปฏิกิริยาตอบสนองของร่างกายที่รุนแรงกว่าปกติ ในการโจมตีเชื้อโรค จนทำให้เกิดการสะสมสารที่จะใช้ทำลายเชื้อโรคมากเกินไปในปอด เป็นผลให้ปอดอักเสบ เมื่อสารเซซามิน เข้าไปยับยั้งปฏิกิริยาดังกล่าว ทำให้สารทำลายเชื้อโรคที่ร่างกายผลิตขึ้นมีปริมาณที่สมดุล การอักเสบของปอดก็ลดลงด้วย ปกป้องเซลล์ประสาท จากรายงานวิจัยพบว่า สารเซซามิน สามารถปกป้องการทำลายเซลล์ อันเนื่องมาจากภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูง โดยป้องกันมิให้เซลล์เข้าสู่โปรแกรมการฆ่าตัวเอง โดยเฉพาะเซลล์ประสาท และปลายประสาท จึงส่งผลดีต่อผู้ป่วยเบาหวาน ที่มักมีโรคแทรกซ้อนจากปัญหาปลายประสาทเสื่อม ป้องกันโรคอัลไซเมอร์ มีงานวิจัยมากมายยืนยันแล้วว่า สารเซซามิน สามารถยับยั้งปฏิกิริยาการเติมออกซิเจนของโปรตีนชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคอัลไซเมอร์ได้ เซซามิน จาก สารสกัดจากเมล็ดงาดำ เป็นผลงานวิจัยของ รศ.ดร. ปรัชญา คงทวีเลิศ จากภาควิชาชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, นักวิจัยดีเด่นผู้ประสบ ความสำเร็จในการแยกโปรตีนบริสุทธิ์ชนิดหนึ่งจากกระดูกอ่อนของสัตว์ที่เหลือทิ้งใน ตลาดหรือในโรงงานอุตสาหกรรมเกี่ยวกับเนื้อสัตว์ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาชุดน้ำยาตรวจคัดกรอง วินิจฉัย และติดตามผลการรักษาโรคข้อเสื่อม ข้ออักเสบ โรคตับ และ มะเร็ง ซึ่งได้ทำการจดสิทธิบัตรไปทั่วโลก ผลงานดังกล่าวนอกจากจะช่วยเสริมประสิทธิภาพในการบำบัดรักษาคนป่วยแล้ว ยังช่วยให้คนไทยได้ใช้เวชภัณฑ์ราคาถูก และลดการพึ่งพาเทคโนโลยีด้านการแพทย์ จากต่างประเทศซึ่งมีราคาสูง จนได้รับรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ รางวัลผลงาน ประดิษฐ์คิดค้น ประจำปี 2554 ระดับดีเด่น สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ( วช.) จากผลงานวิจัยเรื่อง “ การวิจัยและพัฒนาพื้นฐานและประยุกต์ใช้โปรตีนยึดจับไฮยาลูโรแนน เพื่อการวินิจฉัยโรคข้อเสื่อม โรคตับ และ โรคมะเร็ง” โรคข้อเสื่อม (Osteoarthritis) เป็นโรคเรื้อรังที่เกิด จากหลายสาเหตุ เริ่มต้นจากการสูญเสียโครงสร้างที่แข็งแรงของกระดูกอ่อนบริเวณ ข้อกระดูกที่รับน้ำหนักมาก แล้วส่งผลกระทบต่อเนื่องเป็นลูกโซ่ รวมทั้งก่อให้เกิด การอักเสบ ซึ่งจะเป็นตัวกระตุ้นให้มีการสร้างเอนไซม์หลายชนิด ที่ทำให้กระดูกอ่อน เสื่อมสลาย กลไกของกระดูกก็จะปรับสมดุลด้วยการสร้างกระดูกใหม่ขี้นมาแทน หรือ ที่เรียกว่า กระดูกงอก ทำให้เกิดการผิดรูปของกระดูกอย่างเห็นได้ชัดเจนในผู้ป่วย โรคข้อเสื่อม โดยบริเวณที่มีปัญหาข้อเสื่อมได้ง่าย คือบริเวณข้อกระดูกที่รับน้ำหนัก มาก เช่น หัวเข่า และ กระดูกสะโพก อย่างไรก็ตาม บริเวณอื่นก็อาจมีปัญหาข้อ เสื่อมได้เช่นกัน อาทิ กระดูกคอ กระดูกบริเวณมดลูก กระดูกเท้า ข้อเท้า นิ้วเท้า และ นิ้วมือ ส่วนปัจจัยที่ส่งผลต่อการเสื่อมสลายของกระดูกอ่อน ได้แก่ ความอ้วน การออกกำลังกายที่หนักเกินไป การอักเสบหรือบาดเจ็บของข้อกระดูก ขาดวิตามินดี รวมทั้งกรรมพันธุ์ เราอาจพบผู้ป่วยโรคข้อเสื่อมได้เกือบทุกช่วงวัย ตั้งแต่อายุ 16 ปี ขึ้นไป และสูงถึงกว่าร้อยละ 80 ในกลุ่มผู้มีอายุมากกว่า 75 ปี ขอขอบคุณข้อมูลจาก สรรพคุณมหัศจรรย์แห่งเซซามิน, รศ.ดร. ปรัชญา คงทวีเลิศ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น