วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2559

เห็ดหลินจือ สรรพคุณและประโยชน์ของเห็ดหลินจือแดง 40 ข้อ !

เห็ดหลินจือ สรรพคุณและประโยชน์ของเห็ดหลินจือแดง 40 ข้อ !

เห็ดหลินจือ


เห็ดหลินจือ ชื่อสามัญ Lingzhi mushroom, Reishi mushroom
เห็ดหลินจือ ชื่อวิทยาศาสตร์ Ganoderma lucidum (Curtis) P. Karst จัดอยู่ในวงศ์ GANODERMATACEAE
สมุนไพรเห็ดหลินจือ มีชื่อเรียกอื่นว่า เห็ดหมื่นปี, เห็ดอมตะ เป็นต้น
เห็ดหลินจือ จัดเป็นยาจีนที่ใช้กันมายาวนานกว่า 2,000 ปีแล้ว (Chinese traditional medicine) โดยใช้กันนับตั้งแต่สมัยจักรพรรดิฉินซีฮ่องเต้เป็นต้นมา เห็ดหลินจือ ที่ขึ้นอยู่ตามธรรมชาติมีมากมายกว่า 100 สายพันธุ์ โดยสายพันธุ์ที่นิยมและมีสรรพคุณทางยาที่ดีที่สุดคือ สายพันธุ์สีแดง หรือ เห็ดหลินจือแดง หรือ กาโนเดอร์ม่า ลูซิดั่ม (Ganoderma lucidum) โดยในเห็ดหลินจือจะมีสารพอลิแซ็กคาไรด์ (Polysaccharide) ซึ่งจะช่วยยับยั้งและรักษาอาการต่าง ๆ (ประโยชน์ด้านล่าง) โดยแต่ละชนิดจะมีปริมาณสารพอลิแซ็กคาไรด์ในปริมาณที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งแน่นอนว่าคงหนีไม่พ้นสายพันธุ์สีแดงที่กล่าวข้างต้น
เห็ดชนิดนี้จัดว่าเป็นของหายากที่มีคุณค่าสูงในทางสมุนไพรจีน โดยมีการยกย่องว่าเป็นยอดเห็ด เป็นเห็ดที่ดีที่สุดในหมู่สมุนไพรจีน เพราะได้มีการบันทึกในคัมภีร์โบราณ “เสินหนงเปินเฉ่า” (ตำราเก่าแก่ที่คนจีนนับถือกันมากที่สุด) ซึ่งได้กล่าวไว้ว่า เห็ดหลินจือนี้เป็นเทพเจ้าแห่งชีวิต ที่มีพลังมหัศจรรย์นักวิทยาศาสตร์พบว่าในเห็ดชนิดนี้มีสารต่าง ๆที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายมากกว่า 250 ชนิด !! เป็นยาบำรุงร่างกายและใช้เป็นยาอายุวัฒนะในการยืดอายุ นอกจากนี้ยังช่วยทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง รักษาโรคต่าง ๆได้หลายโรค และยังปลอดภัยไม่มีสารพิษใด ๆ ต่อกับร่างกาย !
ในปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับเห็ดหลินจือออกมาจำหน่ายค่อนข้างมาก สำหรับการเลือกซื้อคุณควรศึกษาตั้งแต่ขั้นตอนการเพาะปลูก เพราะเห็ดหลินจือที่จะมีคุณภาพดีนั้น จะต้องได้รับการเพาะเลี้ยงในสภาวะที่เหมาะสม ทั้งความชื้น แสงสว่าง รวมไปถึงสารอาหารที่ได้รับ และสิ่งที่ต้องดูอีกเรื่องก็คือขั้นตอนการแปรรูป ตรงนี้ก็สำคัญเพราะเป็นกระบวนการที่จะต้องสกัดสารพอลิแซ็กคาไรด์จากเห็ดออกมาให้ได้มากที่สุด นอกจากนี้ยังรวมไปถึงบรรจุภัณฑ์ที่ต้องให้ความสนใจด้วย โดยต้องเป็นบรรจุภัณฑ์ที่สามารถกันความชื้นได้เป็นอย่างดี เนื่องจากเห็ดชนิดนี้จะไวต่อความชื้นเป็นพิเศษและความชื้นจะทำให้เห็ดหลินจือขึ้นราได้นั่นเอง

ประโยชน์ของเห็ดหลินจือ

  1. สรรพคุณของเห็ดหลินจือเห็ดหลินจือสรรพคุณใช้เป็นยาบำรุงร่างกาย
  2. ช่วยทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง สีหน้าแจ่มใส
  3. ช่วยบำรุงและรักษาสายตา
  4. สรรพคุณเห็ดหลินจือใช้เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยทำให้อายุยืนยาว
  5. ช่วยชะลอแก่ ชะลอวัย
  6. ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายแข็งแรง
  7. ช่วยทำให้กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรงขึ้น ให้พลังชีวิตมากขึ้น
  8. ช่วยส่งเสริมระบบการไหลเวียนของเลือดให้ดียิ่งขึ้น
  9. ช่วยทำให้ความจำดีขึ้น
  10. ช่วยผ่อนคลายระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ทำให้นอนหลับได้สนิท
  11. ช่วยทำให้ประสาทสัมผัสต่าง ๆ ดีขึ้น
  12. สรรพคุณช่วยรักษาและต่อต้านมะเร็ง โดยส่งเสริมภูมิคุ้มกัน กระตุ้นให้เม็ดเลือดขาวสร้างสารต้านมะเร็
  13. ช่วยแก้พิษจากรังสี คีโม เช่น เม็ดเลือดขาวต่ำจากคีโม ท้องเสียอักเสบจากการฉายรังสี อาการปวดจากพิษบาดแผล
  14. ช่วยลดความดันโลหิตและรักษาโรคความดันโลหิตสูง
  15. ช่วยปรับความดันโลหิตทั้งสูงและต่ำให้สมดุล
  16. ช่วยรักษาโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ
  17. ช่วยป้องกันเส้นเลือดในสมองและหัวใจอุดตัน ป้องกันอัมพฤกษ์ อัมพาต
  18. ช่วยลดไขมันในเลือด
  19. ช่วยรักษาและบรรเทาอาการของโรคหมอนรองกระดูกแตกกดทับเส้นประสาทให้ทุเลายิ่งขึ้น
  20. ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยควบคุมอาการเบาหวาน
  21. ช่วยรักษาโรคภูมิแพ้ หอบหืด
  22. ช่วยรักษาโรคประสาท
  23. สรรพคุณของเห็ดหลินจือช่วยบำรุงตับ และรักษาโรคตับ ตับแข็ง ตับอักเสบ
  24. เห็ดหลินจือรักษาโรคไตเรื้อรังบางชนิด โดยช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพการทำงานของไตให้ดีขึ้น
  25. ประโยชน์ของเห็ดหลินจือช่วยรักษาโรคลมบ้าหมู
  26. ช่วยแก้อาการอาหารเป็นพิษ
  27. ช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้
  28. ประโยชน์เห็ดหลินจือช่วยขับปัสสาวะ
  29. ช่วยรักษาและบรรเทาอาการของโรคริดสีดวงทวาร
  30. ช่วยแก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย ปวดตามข้อ
  31. ประโยชน์ของเห็ดหลินจือช่วยรักษาโรคเกาต์
  32. ช่วยสลายใยแผลเป็น หรือพังผืดหดยืด ทำให้ในแผลเป็นอ่อนนิ่มและหดตัวเล็กลง
  33. ช่วยยับยั้งเชื้อไวรัส อย่าง ไวรัสเอดส์ อีสุกอีใส งูสวัด
  34. ช่วยรักษาโรคลูปัส อีริทีมาโตซัส ทั่วร่าง (SLE) หรือโรคที่เกิดจากภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานผิดปกติ
  35. ช่วยแก้อาการป่วยบนที่สูง เช่น อาการหูอื้อ
  36. ช่วยรักษาโรคที่มีสาเหตุมาจากการขาดออกซิเจน เช่น ถุงลมโป่งพอง หัวใจหล้มเหลว เส้นเลือดหัวใจตีบ
  37. ช่วยแก้อาการปวดประจำเดือน
  38. ช่วยแก้ปัญหาภาวะมีบุตรยาก
  39. ช่วยป้องกันการเสื่อมสรรถภาพทางเพศ
  40. เห็ดหลินจือจัดเป็นสเตียรอยด์ธรรมชาติ ซึ่งไม่มีสารพิษหรือผลข้างเคียงเหมือนกับสเตรียรอยด์สังเคราะห์

ข้อควรรู้และคำแนะนำ

  • เห็ดหลินจือเหมาะกับใคร? เนื่องจากเห็ดชนิดนี้มีสรรพคุณที่ช่วยป้องกันและบำบัดรักษาโรคซะเป็นส่วนใหญ่ มันจึงเหมาะกับโรคของผู้สูงอายุและวัยก่อนสูงอายุ ที่เป็นโรคดังกล่าวข้างต้น
  • เห็ดหลินจือสกัดรูปแบบของการรับประทาน แบ่งได้หลายรูปแบบ อย่างแรกเลยก็คือยาต้มแบบโบราณ ด้วยการนำเห็ดหลินจือที่แห้งนำมาต้มและเคี่ยว ซึ่งเป็นวิธีที่ค่อนข้างยุงยากและไม่สะดวก แบบที่สอง คือเนื้อเห็ดหลินจือบดเป็นผงบรรจุแคปซูล หากไม่ผ่านการฆ่าเชื้ออาจทำให้มีเชื้อราปนเปื้อนได้ โดยรูปแบบนี้จะมีความเข้มน้อยและดูดซึมได้ยาก แบบที่สามซึ่งเป็นแบบที่ได้รับความนิยมมากที่สุดก็คือ เห็ดหลินจือสกัด หรือ สารสกัดจากเห็ดหลินจือแคปซูล ซึ่งจะได้สารสกัดที่เข้มข้นมีสรรพคุณที่ดีกว่า ดูดซึมและออกฤทธิ์ได้ดีกว่า ที่สำคัญก็คือมีมาตรฐานการผลิตที่สะอาดและปลอดภัย เช่น เห็ดหลินจือโครงการหลวง
  • เห็ดหลินจือกินอย่างไร? สำหรับเวลาที่เหมาะสมก็คือการรับประทานตอนเช้าในขณะที่ท้องว่าง แล้วดื่มน้ำตามมาก ๆ ถ้าทานร่วมกับวิตามินซีด้วยก็จะดีมากเพราะจะช่วยเสริมสรรพคุณ และสำหรับผู้ที่ต้องกินยากดภูมิต้านทานหรือผู้ที่เป็นโรค SLE หรือผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะควรงดการรับประทาน
  • ผลข้างเคียงของเห็ดหลินจือ สำหรับผู้ที่เริ่มรับประทานเห็ดหลินจือใหม่ ๆ อาจจะรู้สึกเวียนศีรษะ อาเจียน ง่วงนอน ปวดเมื่อยตามร่างกาย ตามข้อ เกิดอาการท้องผูก ท้องเสีย ปัสสาวะบ่อย ผิวหนังเกิดอาการคัน เป็นต้น แต่ก็ถือเป็นปฏิกิริยาสะท้อนกลับที่เป็นเรื่องปกติของการบำบัดด้วยสมุนไพร เมื่อตัวยาเข้าไปในร่างกาย จะเข้าไปชำระล้างสารพิษต่าง ๆ ให้สลายไปหรือเคลื่อนไปช่วยย้ายขับสารพิษออกจากร่างกาย จึงทำให้ร่างกายเกิดอาการผิดปกติดังกล่าว ซึ่งอาการเช่นนี้จะเกิดขึ้นในระยะเวลาสั้น ๆ เพียง 2-7 วันก็จะกลับสู่สภาวะปกติ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละคน หากมีอาการคุณสามารถรับประทานต่อไปได้เลย แต่หากมีอาการมากก็ควรลดปริมาณลง จนกว่าอาการจะเป็นปกติและให้รับประทานตามคำแนะนำต่อไป และสำหรับผู้ป่วยที่กำลังรับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง ก็สามารถรับประทานเห็ดชนิดนี้ควบคู่ไปได้
แหล่งอ้างอิง : นพ.นิวัฒน์ ศิตวัฒน์, รศ.พญ.นริสา ฟูตระกูล, นพ.บรรเจิด ตันติวิท



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น